การค้นพบ ของ ซีรีส (ดาวเคราะห์แคระ)

แนวคิดที่ว่ามีดาวเคราะห์ที่ยังไม่ได้รับการค้นพบอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี ได้รับการเสนอโดยโยฮัน เอเลิร์ท โบเดอ ใน ค.ศ. 1772[15] ก่อนหน้าใน ค.ศ. 1596 เคปเลอร์ได้สังเกตช่องว่างระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดีแล้ว[15] การพิจารณาของโบเดออิงกฎของทีทซีอุส–โบเดอซึ่งเสนอขึ้นครั้งแรกโดยโยฮัน ดานีเอล ทีทซีอุส ใน ค.ศ. 1766 จากการสังเกตว่ามีรูปแบบสม่ำเสมอในกึ่งแกนเอกของดาวเคราะห์ที่ทราบกัน แต่ใช้ไม่ได้เฉพาะกับช่องว่างใหญ่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดีเพียงจุดเดียว[15][23] รูปแบบดังกล่าวทำนายว่าดาวเคราะห์ที่หายไปมีกึ่งแกนเอกที่ใกล้กับ 2.8 หน่วยดาราศาสตร์[23] การค้นพบดาวยูเรนัสของวิลเลียม เฮอร์เชล ใน ค.ศ. 1781[15] ใกล้กับระยะห่างที่ทำนายไว้จากวัตถุถัดไปจากดาวเสาร์เพิ่มความเชื่อมั่นในกฎของทีทซีอุส–โบเดอ และใน ค.ศ. 1800 พวกเขาส่งคำร้องไปยังนักดาราศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญยี่สิบสี่คน ร้องขอให้พวกเขาประสานงานกันและเริ่มต้นค้นหาดาวเคราะห์ที่คาดคะเนไว้อย่างเป็นระบบ[15][23] กลุ่มนี้ ซึ่งนำโดยฟรันทซ์ ซาเวอร์ ฟ็อน ซัค บรรณาธิการ โมนัทลิชเชอคอเร็สพ็อนเด็นทซ์ (Monatliche Correspondenz) ขณะที่พวกเขาไม่พบดาวซีรีส ภายหลังได้พบดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่จำนวนมาก[23]

หนึ่งในนักดาราศาสตร์ที่ได้รับการคัดเลือกมาค้นหานั้นมีจูเซปเป ปีอัซซี จากสถาบันปาแลร์โม ซิซิลี ก่อนได้รับการเชิญให้เข้าร่วมกลุ่ม จูเซปเป ปีอัซซีค้นพบดาวซีรีสแล้วเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1801[24] เขากำลังค้นหา "[ดาวฤกษ์]ดวงที่ 87 ในบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์จักรราศีของคุณลากาย" แต่พบว่า "มันตามหลังอีกดวงหนึ่ง"[15] แทนที่จะพบดาวฤกษ์ เขากลับพบวัตถุคล้ายดาวฤกษ์เคลื่อนที่ ซึ่งตอนแรกเขาคิดว่าเป็นดาวหาง[25] ปีอัซซีสังเกตดาวซีรีสรวม 24 ครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1801 เมื่อความเจ็บป่วยรบกวนการเฝ้าสังเกตของเขา เขาประกาศการค้นพบของตัวเมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1801 ในจดหมายถึงนักดาราศาสตร์ผู้ติดตามเพียงสองคน บาร์นาบา โอรีอานี แห่งมิลาน เพื่อนร่วมชาติ และโบเดอแห่งเบอร์ลิน[26] เขารายงานว่ามันเป็นดาวหางแต่ "เพราะการเคลื่อนที่ของมันช้ามากและค่อนข้างมีแบบแผน มันได้ปรากฏต่อผมหลายครั้งจนมันน่าจะเป็นอะไรที่ดีกว่าดาวหาง"[15] ในเดือนเมษายน ปีอัซซีส่งการสังเกตสมบูรณ์ของเขาไปยังโอรีอานี, โบเดอ และเฌโรม ลาล็องด์ ในกรุงปารีส ข้อมูลนี้ได้รับการตีพิมพ์ใน โมนัทลิชเชอคอเร็สพ็อนเด็นทซ์ ฉบับเดือนกันยายน ค.ศ. 1801[25]

ถึงขณะนี้ ตำแหน่งปรากฏของดาวซีรีสได้เปลี่ยนไปแล้ว (ส่วนใหญ่เนื่องจากการหมุนโคจรของโลก) และใกล้แสงจ้าของดวงอาทิตย์เกินกว่าที่นักดาราศาสตร์คนอื่นจะยืนยันการสังเกตของปีอัซซีได้ ดาวซีรีสควรมองเห็นได้อีกครั้ง แต่หลังจากเวลานานเช่นนั้น เป็นการยากที่จะทำนายตำแหน่งที่แน่ชัด เพื่อหาดาวซีรีสอีกครั้ง คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ ซึ่งขณะนั้นอายุ 24 ปี พัฒนาวิธีการตรวจหาวงโคจรที่มีประสิทธิภาพ[25] เขาจัดงานพิจารณาการเคลื่อนที่แบบเคปเลอร์จากการสังเกตสมบูรณ์สามอย่าง (เวลา ไรต์แอสเซนชัน และเดคลิเนชัน) ในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ เขาทำนายทางเดินของดาวซีรีสและส่งผลการคำนวณให้แก่ฟ็อน ซัค ในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1801 ฟ็อน ซัค และไฮน์ริช อ็อลเบิร์ส พบดาวซีรีสใกล้กับตำแหน่งที่ทำนายและเป็นการพบอีกครั้งหนึ่ง[25]

การสังเกตช่วงแรกเพียงสามารถคำนวณขนาดของดาวซีรีสได้จากลำดับความสว่างเท่านั้น แฮร์เชลประเมินขนาดมันต่ำกว่าจริงที่ 260 กิโลเมตรใน ค.ศ. 1802 ขณะที่โยฮันน์ ฮีโรนีมุส ชเรอเทอร์ ประเมินขนาดสูงกว่าจริงที่ 2,613 กิโลเมตร[27][28]


  • วงโคจรของดาวซีรีส (สีเหลือง) และดาวอังคาร (สีแดง)
  • วงโคจรของดาวซีรีส (สีเหลือง) และดาวอังคาร (สีแดง)
  • จากซ้ายไปขวา: 4 เวสตา, ซีรีส, ดวงจันทร์ของโลก

แหล่งที่มา

WikiPedia: ซีรีส (ดาวเคราะห์แคระ) http://books.google.com/?id=KWrB1jPCa8AC&pg=PA15 http://books.google.com/books?id=CXdMPwAACAAJ http://space.newscientist.com/article/dn9762 http://www.newscientist.com/blogs/shortsharpscienc... http://www.space.com/12537-asteroid-vesta-skywatch... http://www.spaceblogger.com/reports/Ceres_As_An_Ab... http://www.spacedaily.com/reports/The_IAU_Draft_De... http://www.universetoday.com/35925/the-first-aster... http://www.webelements.com/cerium/history.html http://articles.adsabs.harvard.edu/cgi-bin/nph-iar...